ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
ชื่อหลักสูตร
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Science Education
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อย่อภาษาไทย : ปร.ด. (วิทยาศาสตร์ศึกษา)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy (Science Education)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : Ph.D. (Science Education)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
- หลักสูตรภาคปกติ (จันทร์ - ศุกร์) ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 3 ปี x 2 ภาคการศึกษา x 30,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 180,000 บาท)
- หลักสูตรภาคพิเศษ (เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ) ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 3 ปี x 2 ภาคการศึกษา x 35,000 บาท (ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 210,000 บาท)
ความสำคัญของหลักสูตร
วิทยาศาสตร์ศึกษาเป็นการบูรณาการระหว่างวิทยาศาสตร์กับวิธีทางการศึกษาที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักวิทยาศาสตร์ศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพและสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ดังนั้น การผลิตดุษฎีบัณฑิตศักยภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะดุษฎีบัณฑิตกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่สามารถจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษและสามารถพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเยาวชนให้มีคุณภาพระดับชาติและนานาชาติทั้งด้านความรู้ ทักษะวิทยาศาสตร์ และทักษะจำเป็นสำหรับอนาคต ซึ่งเยาวชนเหล่านี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาที่สามารถสร้างนวัตกรรมและบูรณาการองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพสูงระดับชาติหรือนานาชาติ มีความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาระดับสูงอย่างถูกต้องและสามารถถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว ดุษฎีบัณฑิตมีสมรรถนะ ดังนี้
- มีความรู้และทักษะขั้นสูงทั้งด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาและมีการพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการ วิจัยและวิชาชีพได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่อง
- สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพสูงระดับชาติหรือนานาชาติ และสร้างองค์ความรู้จากงานวิจัยได้
- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสริมการเรียนรู้ร่วมกับนวัตกรรมการเรียนรู้และงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับบริบทในอนาคตได้
- จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาผู้เรียนทั้งความรู้วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพและการวิจัย ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการทำงานเป็นทีมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs)
PLO1 ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาขั้นสูงในการพัฒนาตนเองทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพได้อย่างสอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล
PLO2 สร้างสรรค์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพสูงระดับชาติหรือนานาชาติได้สอดคล้องตามหลักจรรยาบรรณทางวิชาชีพและจริยธรรมการวิจัย
PLO3 สร้างสรรค์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาที่มีคุณภาพสูงระดับชาติหรือนานาชาติได้สอดคล้องตามหลักจรรยาบรรณทางวิชาชีพและจริยธรรมการวิจัย
PLO4 จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์และทักษะแห่งอนาคตของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PLO5 ทำงานเป็นทีมและมีความเป็นผู้นำในการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
ช่องทางการติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1) เพจหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ
https://www.facebook.com/grad.school.sci.ubu
2) กลุ่มเฟสบุ๊ค: PhD.SciEd@UBU
www.facebook.com/groups/phd.sci.edu.ubu/
ดุษฎีบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา สามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ เช่น ครูวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาจารย์ในวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษา บุคลากรทางการศึกษา นักวิชาการศึกษาในสังกัดของรัฐและผู้ประกอบการสถานศึกษาเอกชน เป็นต้น
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา จัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่แบบ 1.1 และแบบ 2.1 มีจำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตรในแต่ละแผนการศึกษาไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิตดังนี้
หลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎี สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา เป็นหลักสูตรเต็มเวลา 3 ปี ใช้ระยะเวลาในการศึกษาไม่เกิน 6 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ดังนี้
แบบ 1.1 | จำนวน | 48 หน่วยกิต |
แบบ 2.1 | จำนวน | ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต |
โครงสร้างหลักสูตร ดังนี้
แบบ 1.1 จำนวน 48 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาเฉพาะ (ไม่นับหน่วยกิต)
1) กลุ่มวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต)
1151 904 | สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1 |
1151 905 | สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2 |
2) กลุ่มวิชาเลือก จำนวน - หน่วยกิต
แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาบังคับ | จำนวน | 8 หน่วยกิต |
2) กลุ่มวิชาเลือก | จำนวน | ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต |
ข. หมวดวิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มีรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรดังนี้
แบบ 1.1
ก) หมวดวิชาเฉพาะ
1) กลุ่มวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต)
1151 904 | สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1 |
1151 905 | สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2 |
2) กลุ่มวิชาเลือก (ไม่นับหน่วยกิต)
ข) หมวดวิทยานิพนธ์ (Thesis courses) จำนวน 48 หน่วยกิต
1151 991 | วิทยานิพนธ์(Thesis) | จำนวน 48 หน่วยกิต |
แบบ 2.1
ก) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
ก1) กลุ่มวิชาบังคับ จำนวน 8 หน่วยกิต
1151901 | การวิจัยขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Research in Science Education) | 2(1-2-5) |
1151902 | ระบบการจัดการเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Learning Management Systems for Science Learning) | 2(1-2-5) |
1151903 | นวัตกรรม เทคโนโลยีและสื่อมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล (Innovation, Technology and Multimedia for Learning in Digital Era) | 2(1-2-5) |
1151904 | สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1 ( Seminar in Science Education I) | 1(0-2-2) |
1151905 | สัมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2(Seminar in Science Education II) | 1(0-2-2) |
ก2) กลุ่มวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 4 หน่วยกิต
นักศึกษาเลือลงทะเบียนรายวิชาเลือกตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น กรณีที่นักศึกษามีผลการสอบคัดเลือกด้านความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ต่ำ ควรลงทะเบียนรายวิชาที่เน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์ . สำหรับนักศึกษาที่มีผลการสอบคัดเลือกด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและการวิจัย ต่ำหรือมีผลการสอบด้านความรู้เนื้อหาสูง ควรลงทะเบียนรายวชิาที่เน้นด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศษสตร์ศึกษาในกรณีที่นักศึกษามีความรู้พื้นฐานต่ำท้งด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาและด้านความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ . อาจารย์ที่ปรึกษาอาจจจะพิจารณาให้นักศึกษาลงทะเบียนทั้งรายวิชาที่เน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์และรายวิชาที่เน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์ศึกษาและรายวิชาที่เน้นเนื้อหาวิทยาศาสตร์ศึกษา
กลุ่มวิชาเลือกทางชีววิทยา
1151 921 | ชีววิทยาของเซลล์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา(Advanced Cell Biology for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 922 | ชีววิทยาของพืชขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา(Advanced Plant Biology for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 923 | ชีววิทยาของสัตว์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา(Advanced Animal Biology for Science Educators) | 2(1-2-5) |
กลุ่มวิชาเลือกทางเคมี
1151 931 | . เคมีอินทรีย์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Organic Chemistry for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 932 | . เคมีอนินทรีย์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Inorganic Chemistry for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 933 | เคมีวิเคราะห์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Analytical Chemistry for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 934 | เคมีเชิงฟิสิกส์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Physical Chemistry for Science Educators) | 2(1-2-5) |
กลุ่มวิชาเลือกทางฟิสิกส์
1151 941 | กลศาสตร์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Mechanics for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 942 | แม่เหล็กไฟฟ้าขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Electormagnetism for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 943 | กลศาสตร์ควอนตัมขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Quantum Mechanics for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 944 | ฟิสิกส์ดาราศาสตร์สำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Astrophysics for Science Educators) | 2(1-2-5) |
กลุ่มวิชาเลือกทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
1151 951 | ระบบการสอนแบบชาญฉลาดในการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Intelligent Tutoring Systems in Electronic Learning) | 2(1-2-5) |
1151 952 | เทคโนโลยีบนฐานคอมพิวเตอร์ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced Computer-Based Technology for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 953 | การทำเหมืองข้อมูลทางการศึกษา (Educational Data Mining) | 2(1-2-5) |
ข) หมวดวิทยานิพนธ์ (Thesis courses) จำนวน 36 หน่วยกิต
1151 992 | วิทยานิพนธ์(Thesis) | จำนวน 36 หน่วยกิต |
ช่องทางการติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1) เพจหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ
https://www.facebook.com/grad.school.sci.ubu
2) กลุ่มเฟสบุ๊ค: PhD.SciEd@UBU
www.facebook.com/groups/phd.sci.edu.ubu/
1) แบบ 1.1
ปีที่ 1 (First Year)
ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกน | 1151 904 | สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1(Seminar in Science Education I) | ไม่นับหน่วยกิต |
หมวดวิทยานิพนธ์ | 1151 991 | วิทยานิพนธ์(Thesis) | 8 |
รวม | 8 |
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาแกน | 1151 905 | สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2(Seminar in Science Education II) | ไม่นับหน่วยกิต |
หมวดวิทยานิพนธ์ | 1151 991 | วิทยานิพนธ์(Thesis) | 8 |
รวม | 8 |
หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ(Qualifying Examination; QE) ของนักศึกษาระดับปริญญาเอกภายใน 1 ภาคการศึกษา
ปีที่ 2 (Second Year)
ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
วิทยานิพนธ์ | 1151 991 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 8 หน่วยกิต |
รวม | 8 หน่วยกิต |
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
วิทยานิพนธ์ | 1151 991 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 8 หน่วยกิต |
รวม | 8 หน่วยกิต |
ปีที่ 3 (Third Year)
ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
วิทยานิพนธ์ | 1151 991 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 8 หน่วยกิต |
รวม | 8 หน่วยกิต |
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
วิทยานิพนธ์ | 1151 991 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 8 หน่วยกิต |
รวม | 8 หน่วยกิต |
หมายเหตุ : นักศึกษาต้องสอบผ่านการประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาเอกตามประกาศของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก่อนสำเร็จการศึกษา
2) แบบ 2.1
ปีที่ 1 (First Year)
ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ | 1151 901 | การวิจัยขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ศึกษา(Advanced Research in Science Education) | 2(1-2-5) |
1151 902 | กระบบการจัดการเรียนรู้สำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (Learning Management Systems for Science Learning) | 2(1-2-5) | |
1151 904 | สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 1 (Seminar in Science Education I) | 1(0-2-2) | |
รวม | 5 |
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาบังคับ | 1151 903 | นวัตกรรม เทคโนโลยีและสื่อมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล (Innovation, Technology and Multimedia for Learning in Digital Era) | 2(1-2-5) |
1151 905 | สัมมนาทางวิทยาศาสตร์ศึกษา 2(Seminar in Science Education II) | 1(0-2-2) | |
หมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาเลือก | 1151 9XX | ..... ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced .......... for Science Educators) | 2(1-2-5) |
1151 9XX | ..... ขั้นสูงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ศึกษา (Advanced .......... for Science Educators) | 2(1-2-5) | |
รวม | 7 |
หมายเหตุ: นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination; QE) ของนักศึกษาระดับปริญญาเอกภายใน 1 ปีการศึกษา
ปีที่ 2 (Second Year)
ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
หมวดวิทยานิพนธ์ | 1151 992 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 9 หน่วยกิต |
รวม | 9 หน่วยกิต |
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
หมวดวิทยานิพนธ์ | 1151 992 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 9 หน่วยกิต |
รวม | 9 หน่วยกิต |
ปีที่ 3 (Third Year)
ภาคการศึกษาต้น (First Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
วิทยานิพนธ์ | 1151 992 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 9 หน่วยกิต |
รวม | 9 หน่วยกิต |
ภาคการศึกษาปลาย (Second Semester)
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ศึกษาด้วยตนเอง) |
---|---|---|---|
วิทยานิพนธ์ | 1151 992 | วิทยานิพนธ์ (Thesis) | 9 หน่วยกิต |
รวม | 9 หน่วยกิต |
หมายเหตุ : นักศึกษาต้องสอบผ่านการประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาเอกตามประกาศของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก่อนสำเร็จการศึกษา
ข) หมวดวิทยานิพนธ์ (Thesis courses) จำนวน 36 หน่วยกิต
1151 992 | วิทยานิพนธ์(Thesis) | จำนวน 36 หน่วยกิต |
ช่องทางการติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
1) เพจหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ
https://www.facebook.com/grad.school.sci.ubu
2) กลุ่มเฟสบุ๊ค: PhD.SciEd@UBU
www.facebook.com/groups/phd.sci.edu.ubu/
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน
รศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม ( ประธานหลักสูตร )
Research Overview1) การส่งเสริมศักยภาพครูฟิสิกส์ (Capacity Enhancement for Physics Teachers) แหล่งทุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์, ปีงบประมาณ 2559-2561 2) กิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีงบประมาณ 2560 |
Research Overview
ORCID iD: |
Research OverviewPorous materials: Synthesis, modification, and application |